พาหุง บทสวดมนต์ชนะมาร ยิ่งสวดยิ่งขลัง

7661 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พาหุง บทสวดมนต์ชนะมาร ยิ่งสวดยิ่งขลัง

บทสวดมนต์ พาหุงมหากา ชัยมงคลคาถา 

บทเสริมชัยเหนือศัตรู ศิริมงคลมาก

 

บทสวดมนต์พาหุง เป็นบทสวดมนต์ที่มีความมงคล นิยมสวดเพื่อให้มีชัยเหนือศัตรูหมู่มารทั้งหลาย

เมื่ออดีตกาลนานมา ไม่มีหลักฐานที่ระบุไว้อย่างชัดเจน แต่เป็นความเชื่อของผู้เฒ่าผู้แก่ บรรพชนมาช้านานว่า บทพาหุงมหากา เป็นบทสวดมนต์ที่ถูกแต่งขึ้นมาเพื่อถวายกษัตริย์ยามออกรบ ให้ชนะแก่ข้าศึกศัตรู

 

 
เคล็บลับหมอดูโหราศาตร์
และคนดังทั้งหลายก็เสริมชะตา
เหนือโรคร้ายปราศจาก
เหล่ามารผจญด้วยบทคาถานี้
 

 

 


บทสวดพาหุงมหากา

(พุทธชัยมงคลคาถา)

 

(บทที่ 1 ชัยชนะเหนือศัตรูหมู่มาร)


พาหุง สะหัสสะ มะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

 

(บทที่ 2 ชัยชนะเหนือใจคนที่เป็นปฏิปักษ์)


มาราติเร กะมะภิยุชฌิ
ตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะ
มักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

(บทที่ 3 ชัยชนะเหนือสัตว์ร้าย และคู่ต่อสู้)

นาฬาคิริง คะชะวะรัง
อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจัก
กะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

 

(บทที่ 4 ชัยชนะเหนือโจร)


อุกขิตตะขัคคะ มะติหัตถะ
สุทารุณันตัง ธาวันติโย
ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

(บทที่ 5 ชัยชนะเหนือการใส่ร้ายป้ายสี)

กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ
คัพภินียา จิญจายะ
ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

(บทที่ 6 ชัยชนะเหนือการโต้ตอบ)

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะ
กะวาทะเกตุง วาทาภิโร
ปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

(บทที่ 7 ชัยชนะเหนือเล่ห์เหลี่ยม)

นันโทปะ นันทะภุชะคัง
วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ
เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

(บทที่ 8 ชัยชนะเหนือทิฏฐิของมนุษย์)

ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ
สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง
วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

 


 บทสวดชัยปริตร (มหาการุณิโก)

มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ
สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
ปาระมี สัพพา ปัตโต
สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ
สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต
ชะยะมังคะลังฯ

ชะยันโต โพธิยา มูเล
สักยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ
ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก

สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะ
พุทธานัง อัคคัปปัตโต
ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง

สุมังคะลัง สุปะภาตัง
สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต
จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ
จารีสุ ปะทักขิณัง
กายะกัมมัง วาจากัมมัง
ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
มโนกัมมัง ปะณิธี เต
ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ
กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ


ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธา นุภาเวนะ
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมา นุภาเวนะ
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆา นุภาเวนะ
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

หมายเหตุ : หากสวดให้ผู้อื่นใช้คำว่า "เต" (แปลว่า ท่าน) แต่หากสวดให้ตัวเองใช้คำว่า "เม" (แปลว่า ข้าพเจ้า)

 

 

 

 

หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน

หลวงพ่อได้ เมตตาบอกลูกศิษย์

"คืนหนึ่งท่านได้นิมิต ฝันถึงสมเด็จพระพนรัตน์  วัดป่าแก้ว แห่งกรุงศรีอยุธยา  ท่านเป็นผู้แต่งคาถาพาหุงนี้ถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเอ งและ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ท่านเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" 

 

สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว

คือ ผู้รจนายอดพระคาถาที่มีความมงคลนี้ นั่นคือชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา (พระคาถาที่กล่าว​ถึงชัยชนะทั้ง 8 ของพระพุทธเจ้า) เพื่อถวายให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ใช้สวดเป็นประจำเพื่อทำศึกจนมี​ชัยชนะ พระนเรศวรมหาราชทรงสวดระหว่างอยู่ในพระบรมราชวังทุกเช้าค่ำ และใช้สวดก่อนออกรบทัพจับศึก ทำให้ทรงได้รับชัยชนะกลับมาทุกครั้ง ซึ่งสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ได้บอกให้หลวงพ่อจรัญไปตามหาบทสวดพาหุงเพื่อนำมาเผยแพร่ต่อไป 


 

หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน เล่าว่า มีอยู่คืนหนึ่ง  เมื่อจำวัดแล้ว นิมิตฝันไปว่า ได้เดินไปในที่แห่งหนึ่ง พบภิกษุรูปหนึ่งครองจีวรคร่ำคร่า สมณสารูปน่าเลื่อมใส เมื่อเห็นว่าเป็นพระอาวุโสผู้รู้รัตตัญญู หลวงพ่อจรัญจึงน้อมนมัสการท่าน ภิกษุรูปนั้นหยุดยืนอยู่ตรงหน้า แล้วกล่าวกับหลวงพ่อว่า...

“ฉันคือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว แห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอได้ไปที่วัดใหญ่ชัยมงคลเพื่อดูจารึกที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้เป็นเจ้าเนื่องในวาระที่สร้างเจดีย์ฉลองชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชแห่งพม่าและประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทย จากกรุงหงสาวดีเป็นครั้งแรกเธอไปดูแล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว”

ท้ายของความฝันนั้นท่านกล่าวว่า  "เราสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ศรีอโยธยา คือผู้จารึกนิมิต รจนาเอาไว้ ถวายพระพรแด่มหาบพิตรเจ้า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช"

 


 

 

อานิสงส์ของบทสวดพาหุงมหากา


บทสวดพาหุงเป็นบทสวดมนต์ที่มีความศิริมงคลสูงมาก เนื่องจากแต่ละบทจะมีการกล่าวถึงชัยชนะอันสูงสุดของพระพุทธเจ้า เป็นชัยชนะที่ไม่ได้ใช้พละกำลัง เล่ห์กล หรือความอาฆาตร้าย แต่เป็นความชนะด้วยขันติ ความอดทนอดกลั้น บารมีที่อยู่เหนือมารผจญทั้งหลาย โดยใช้ธรรมะ 



   สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทุกพระองค์ท่านล้วนแต่เคยใช้มนต์บทนี้เพื่อสวดมนต์เสริมความมงคล เสริมให้มีชัยเหนือศัตรู


อานิสงส์ของการสวดบทพาหุง

จะทำให้ผู้ที่สวดเป็นประจำ เป็นผู้มีสติปัญญา มีสมาธิ มีจิตใจเข้มแข็ง มีชีวิตราบรื่น ประสบความสำเร็จ มีบารมี มีชัยชนะเหนืออุปสรรคทั้งปวง ทำให้บางครั้งมีผู้เรียกบทสวดดังกล่าวว่า เป็นบทสวดแห่งชัยชนะ บทพาหุงชนะมาร

 

 

 แนะนำให้สวดเพิ่มอีกบทคือ

บทสวดอิติปิโส (สวดตามอายุ บวกเพิ่มอีก 1 จบ)



อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง

สัมมาสัมพุทโธ วิชชา

จาระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู

อะนุตตะโร ปุริสะทัม มะสาระถิ

สัตถาเทวะ มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ



 จากนั้นให้ ตั้งจิตแผ่เมตตา และอุทิศส่วนกุศล



สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย
ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด
อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย

อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด
อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด
อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงมีความสุขกายสุขใจ
รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิดฯ

 

  ร้านเบอร์ทองสุข ขออนุโมทนาสาธูบุญกับทุกท่านที่อ่านจนจบและข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกท่านจะได้น้อมนัำไปสวดมนต์เป็นปกติ เพื่อความมงคลแก่ชีวิต

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้